วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

บาสเก็ตบอล ตอน4


พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
- เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
- ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
- ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
- ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
- กำหนดเขตที่นั่งทีม
- หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
- ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
- ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
- ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
- ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team' ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
- กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4x12 นาที
- การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
- ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
- สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
- เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา' เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา'
- ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1' ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
- หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
- จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
- ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)'
- เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี' ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
- 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
- ผู้เล่นผ่ายรุกปละฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
- บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
- ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ' ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
- ฟาล์วทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
- ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
- ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
- เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วงประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
- ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
- ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
- FIFA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
- สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เดกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
- ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินในสนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น