วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

มวยสากล ตอน4


ในปี ค.ศ. 1887 แจ็ค คิลเร่น แห่งอเมริกา เสมอกับ เจมส์สมิธ แห่งอังกฤษ และในการแข่งขันคราวนี้เองได้เป็นที่ยอมรับกันว่า ทั้งคู่ได้เป็นผู้ครองเข็มขัดผู้ชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1889 จอห์น แอล ซัลลิแวน ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลก จากแจ๊ค คิลเร่น ที่เมืองริชเยอร์ก มลรัฐมิสซิสชิบบี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้ายในอเมริกา เป็นจำนวนถึง 75 ยก ชิลล์แวนผู้เลิศประกาศว่าจะไม่ชกด้วยมือเปล่า อีกต่อไป

ในปี ค.ศ. 1914 มี 5 รัฐ ในอเมริกา คือ นิวยอร์ค แคลิฟอร์เนีย หลุยส์เซียน่า เนวาด้า และฟอริดา ได้ตกลงแบ่งจำนวนออกเป็น 20 ยกเหมือนกัน ในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แบ่งการชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี 1915

ระหว่างปี ค.ศ. 1915 – 1930 นับว่าเป็นระยะการชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด มลรัฐนิวยอร์ค และมลรัฐวิสคอนซิล ได้ตรากฎหมายควบคุมในตอนนี้ มีกฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งสิ้น 44 มลรัฐ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันในกองทัพเพื่อฝึกให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบ ในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรถภาพทางกาย หูตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาเข้าต่อสู้ และเหนือสิ่งอื่นใดก็ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทัพทหารตลอดมา มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเสตด์ เริ่มศึกษากันอย่างจริงจัง

ในระหว่างปี ค.ศ. 1886 – 1919 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ถึงกับได้ตั้งสถาบันสำหรับ ฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ.1920 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยสากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่ง การต่อสู้ป้องกันตัวและทำการแข่งขันระหว่างโรงเรียนประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่ผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพ ต่อไป

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

มวยสากล ตอน3


ในปี ค.ศ.1866 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากลอันเป็นรากฐานของกติกาที่ ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ในกติกาได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก โดย 3 ยกแรกยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดถูกชกล้มสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมชกตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียว กับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพียงเรื่องจำนวนยก คือจะสู้กันกี่ยกก็ได้แล้วแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุม ยิ่งขึ้นเท่านั้น การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในการชกมวยสากลสมัครเล่น สมัยการใช้กติกา ควีนส์เบอร์ บี

ค.ศ. 1860 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนวม และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ มาจนถึงสมัยกิจการมวยได้ถูกยกขึ้นเป็นศิลปะ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันตรายลงได้มากและทำให้การชกรวดเร็วน่าดู ยิ่งขึ้น ผู้ชกไม่ต้องพะวงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป

ในปี ค.ศ. 1882 จอห์น ซัลลิแวน ชาวอเมริกันได้ชกชนะ แพ็คคคี้ ไรอั้น ชาวอังกฤษ และได้รับยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกัน ในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสชิบบี้

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

มวยสากล ตอน2


มวยสากลของอังกฤษ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรก ในระหว่างปี ค.ศ. 1698 ถึง 1790 อาจเรียกได้ว่าเป็น “สมัยมงกุฎผีสิง” ในปี ค.ศ. 1740เนต ได้คำเนินการสอนมา และเป็นบุคคลแรกในปี ค.ศ. 1740 ที่ได้คิดกติกามวยสากลขึ้นจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ ในปีเดียวกัน บรูตัน ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชกมวย แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของลูกผู้ชายเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังให้มือเปล่าอยู่ อย่างไรก็ดีมวยสมัยนั้นก็ได้ตกทอดมาถึงมวยสากลในปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี 1792 แต่เปีย เมนซ่า ได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศและได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี 1795 จึงได้เสียตำแหน่งแก่ จอห์น แจ๊คสัน ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และเปิดฝึกมวยขึ้นจนมีชื่อเสียง ด้วยมีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสมัครเรียน มวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงวันนี้ ต่อมาเนื่องจากมีการให้รางวัลเป็นเงินตราแก่นักมวย เงินตราจึงมีอิทธิพลเหนือการแข่งขันโดยได้มีการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนัก มวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินตราไป สมาคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา วิกฤติการณ์ แห่งวงการนักมวยได้เกิดขึ้นดังนี้ ทางราชการอังกฤษ จึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยเองก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนือง ๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง เมื่อวิเคราะห์ดู กติกามวยสากลที่ บรูตัน คิดขึ้นแล้วจะเห็นได้ว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกที่กำหนดไว้ไม่แน่นอน สักแต่ว่าทำการแข่งขันไปจนกระทั่งนักมวยคนใดคนหนึ่งถูกน็อค หรือถูกเหวี่ยงจนล้มและไม่สามารถจะลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกในเวลา 30 นาที การฟาวล์มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ การชกขณะล้ม และกอดหรือหมัดต่ำกว่าเอว กติกาเหล่านั้นภายหลังได้ชื่อว่า เป็นกติกาเกิดขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของจอห์น ยี. เชมเบอร์

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

มวยสากล


มวยสากล

ประวัติกีฬามวยสากล มวยเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่ทุกท่านอาจจะศึกษาหาความรู้ได้ เช่น วิชาแขนงอื่นๆ และที่ว่าเป็นศิลป์ก็เพราะว่า ศิลปะแขนงนี้ช่างมากไปด้วยกลยุทธ์และลวดลายซึ่งยากที่จะเรียนรู้และปฏิบัติ ไปอย่างเจนจบ ศิลปะอย่างสูงของนักมวยคนหนี่งยากที่นักมวยอีกคนหนึ่งจะพึงปฏิบัติสืบทอดกัน ต่อไปได้ ดังที่ทุกท่านตระหนักดีอยู่ว่ามวยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวอย่าง หนึ่งตามธรรมชาติสืบทอดกันต่อไป ปัจจุบันมีมวยใหญ่อยู่ 2 ชนิดคือ มวยปล้ำ และมวยชก เพื่อนบ้านชกด้วยหมัดอย่างเดียวกัน อันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก เรียกว่ามวยสากล มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง เซอร์ อาเซอร์ อีแวน ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณซึ่งแยกออกเป็นชิ้น ๆ ในปี ค.ศ. 1900 ที่เมืองบอชชุส อันเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีต ของประเทศกรีช ทางตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน

จากหลักฐานอันนี้ทำให้ทราบว่ามวยโบราณในสมัยกรีช ก่อนคริสตกาล ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ

ระยะแรก ในสมัยของ โอมเมอร์ ประมาณ 600 – 300 ก่อนคริสตศักราช สมัยนั้นใช้หนังอ่อน ๆ ยาว 10 – 12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และผีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ

ระยะที่สอง ระหว่าง 200 – 400 ปีก่อนคริสตศักราช มีการดัดแปลงไปเล็กน้อย คือการพันมือนั้นแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งนักกีฬาโอลิมปิกจะต้องเข้าค่ายฝึกอยู่อย่างน้อย 9 เดือน เมื่อจวนถึงวันแข่งขันจริง ก็มีการจับคู่คล้ายๆ กับในปัจจุบัน แข่งขันเวลาเที่ยงวันขณะดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดี ซึ่งบรรยากาศตอนนั้นกำลังหรือล้มลง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสินไม่มีการกำหนดน้ำหนัก ส่วนมากจึงมีแต่นักมวยรุ่นที่หนักที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า รุ่นเฮฟวี่เวท

ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปีก่อนคริสตศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวก GIADIATORS ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่ง ต่อมาในราวปื ค. ศ. 394 โรมัน เสื่อมอำนาจลงการชกมวยก็ได้เสื่อมสูญไปด้วย ตอนโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย นักบุญ เบอร์นาด ได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1240 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

แฮนด์บอล


แฮนด์บอล (Handball) เริ่มต้นมาจากประเทศเยอรมัน ในราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยครูพลศึกษาคนหนึ่งชื่อ Konrad Koch ได้ริเริ่มและแนะนำกีฬาประเภทนี้ออกมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม เกมแฮนด์บอลก็ยังไม่เป็นที่นิยมกว้างขวางเท่าที่ควร จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2447 แฮนด์บอลจึงได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้นในภาคพื้นยุโรป มีการกำหนดระเบียบและกติกาการเล่นโดยอาศัยกติกาของฟุตบอลเป็นหลัก นักพลศึกษาชาวอเมริกากล่าวว่า กีฬาแฮนด์บอลน่าจะเป็นเกมกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด เพราะมนุษย์นิยมใช้มือกับลูกบอลขว้างมาแต่โบราณแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถจะเดาได้ว่าเกมนี้ได้วิวัฒนาการมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลในปัจจุบันได้อย่างไร
ประเทศยุโรปในฤดูหนาวไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ จึงใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลงเล่นกีฬาฟุตบอลด้วยมือ ตอนแรกใช้ผู้เล่น 11 คนเท่ากับฟุตบอล แต่ไม่สะดวก เพราะสถานที่คับแคบ จึงลดจำนวนผู้เล่นเหลือข้างละ 7 คน จึงกลายมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลแบบการเล่นในปัจจุบัน ในช่วงนั้นแฮนด์บอลมิได้ถือว่าเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีหน่วยงานเป็นของตนเอง แต่คณะกรรมการที่ก่อตั้งและดำเนินการก็มาจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ (The International Amateur Athletic Federation) มีชื่อย่อๆ ว่า I.A.A.F. คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ในทวีปยุโรปสมัยนั้น
หลังจากปี พ.ศ. 2447 กีฬาแฮนด์บอลซึ่งอยู่ในความดูแลของ I.A.A.F. ก็มีความมั่นคงขึ้น และหลายๆ ประเทศให้ความสนใจ และมีการจัดบรรจุในรายการกิจกรรมการกีฬาของประเทศนั้นๆ ด้วย ตลอดจนได้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2469 I.A.A.F. ได้ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากประเทศต่างๆ ในเครือสมาชิกของกีฬาประเภทนี้มีการประชุมตกลงเรื่องกติกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่กีฬาแฮนด์บอลได้ตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยเอกเทศ และมีการริเริ่มตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ประเทศกลุ่มสมาชิก 11 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ The International amateur Handball Federation ก็ได้จัดตั้งขึ้น และบุคคลที่มีความสำคัญของการกีฬาสหพันธ์คือ Every Brundage ประธานของ I.O.C. ได้เป็นสมาชิกขององค์การใหม่นี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2471 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้มีการสาธิตขึ้นในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮนด์บอลก็ได้บรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C. หลังจากการประชุมที่กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ก็ได้เพิ่มเป็น 25 ประเทศในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นจุดที่ชี้ให้เห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกว่า Nazi Olympic
สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างปัญหาต่างๆ ให้กับการกีฬาเป็นอย่างมากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งที่โคเปนเฮเกน เพื่อที่จะฟื้นฟูกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาใหม่ แต่ก็ล้มเหลว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 จึงได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลขึ้นใหม่ และยอมรับทักษะการเล่นสมัยก่อน ซึ่งทำให้ลักษณะของการเล่นและกติกาเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกัน
สมัยก่อนนิยมการเล่นแบบ 11 คน เช่นเดียวกับฟุตบอล แต่ในยุโรปตอนเหนือได้มีการเล่นแบบ 7 คน และเล่นกันในร่ม ตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ต่อมาการเล่นแฮนด์บอลแบบ 7 คน ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป ทำให้การเล่นแบบ 11 คนได้หายไป ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกก็ยอมรับการเล่นแบบ 7 คน และจากผลของการวิจัยต่างๆ ปรากฏว่าแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเร็วเป็นอันดับสองของโลกรองลงมาจากกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง เหตุที่แฮนด์บอล 7 คนนิยมเล่นในร่มก็อาจเป็นเพราะเนื้อที่สนามน้อย สามารถเล่นในที่แคบๆ ได้ และอีกอย่างก็คือสภาพของดินฟ้าอากาศในฤดูหนาวของทวีปยุโรปนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ดังนั้นแฮนด์บอลจึงไม่สามารถเล่นในสนามกลางแจ้งได้ ด้วยเหตุผลนี้แฮนด์บอลจึงเป็นที่นิยมเล่นกันในร่มหรือโรงยิมเนเซียมแทน
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาของโลกอย่างหนึ่งเพราะการแข่งขันกีฬาสำคัญระหว่างชาติก็มีการแข่งแฮนด์บอลด้วย เช่น กีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ก็ได้มีการแข่งขันแฮนด์บอล หลังจากที่บรรจุไว้ในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้ว และในปี พ.ศ. 2516 ได้บรรจุในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตกด้วย

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

บาสเก็ตบอล ตอน7


การส่งบอล
ในการส่งบอล (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือการส่งระดับอก (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
การส่งแบบข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือขโมยลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่าการส่งสกิป (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น
การเลี้ยงลูก
การเลี้ยงลูกเป็นบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
การเล่นรูปแบบอื่น ๆ
บาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ ฮาล์ฟคอร์ต โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้องเคลียร์ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต

บาสเก็ตบอล ตอน6


ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง
ถึงแม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนในการเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น พอยท์การ์ด ชู้ตติ้งการ์ด สมอลฟอร์เวิร์ด เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด และ เซ็นเตอร์ ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า three guard offense
การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน และ แบบแมน-ทู-แมน การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน หรือ พิก คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้าง ๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม
โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม
การชู้ต
การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต และ จัมพ์ช็อต เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ